ข่าวสาร M-CAB
PRIDE MONTH CALENDAR เพราะอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศของคนนั้นมีหลากหลาย
PRIDE MONTH CALENDAR เพราะอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศของคนนั้นมีหลากหลาย
เพราะอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศของคนนั้นมีหลากหลาย
ชวนมารู้จักอัตลักษณ์ทางเพศต่างๆ ผ่านปฏิทินแห่งเดือนไพรด์กันเถอะ
SPECTROGRAM: Pride Month Calendar
เป็นที่รู้กันอยู่อย่างกว้างขวางว่า ‘Pride Month’ นั้น ถูกจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี เพื่อใช้รำลึกถึงเหตุการณ์ Stonewall Riots ในปี 1969 ซึ่งมีการเรียกร้องสิทธิเรื่องเพศที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา จึงมีการตั้งให้เดือนนี้เป็นเหมือนเดือนแห่งความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายทั่วโลก
และสำหรับ ‘Pride Month Calendar’ นี้นั้นไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ แต่เป็นการทำขึ้นจากกลุ่มคนที่อยากให้เดือนไพรด์นี้ ได้เน้นย้ำถึงอัตลักษณ์ที่หลากหลายของเพศของคนที่มีมากไปกว่า L G B T แต่ยัง + อีกมากมาย และภาพที่เรานำมาวันนี้เป็นภาพธงประจำอัตลักษณ์ทางเพศต่างๆ ผ่านทางการนำสีสันจากของกลุ่ม ‘เนบิวลา’ ที่ส่องแสงระยิบระยับงดงามมากมายในจักรวาล จากไอเดียของ ‘Laurie Raye’ ศิลปินชาวอังกฤษ ที่ให้กลุ่มดาวนำเสนอความหลากหลาย ซึ่งอาจมีมากมายไปกว่าการนิยามในปฏิทินนี้ด้วยซ้ำ
Gay – ใช้อธิบายถึงบุคคลที่มีรสนิ ยมทางเพศที่พึงพอใจในเพศเดี ยวกัน ในไทยนั้นมักใช้เรียกคนที่เ ป็นชายรักชาย มีอัตลักษณ์เป็นชาย ไม่ได้ต้องการข้ามเพศ และชอบคนที่มีอัตลักษณ์เป็น ชายเหมือนกัน แต่ในต่างประเทศบางครั้งก็ใ ช้เรียกคนที่มีรสนิยมแบบหญิ งรักหญิงได้เช่นกัน
Lesbian – ใช้เรียกคนที่มีรสนิยมแบบหญ ิงรักหญิง ไม่ว่าผู้หญิงคนนั้นจะนิยาม ตัวตนว่าเป็นทอมหรือดี้ ก็นับว่าเป็นเลสเบี้ยนเช่นก ัน โดยมีวันที่ 26 เมษายนของทุกปี เป็นวัน ‘Lesbian Visibility Day’ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระ หนักรู้ถึงการมีตัวตนของเลส เบี้ยน ให้อัตลักษณ์และรสนิยมทางเพ ศนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน ‘International Lesbian Day’ ที่ใช้เพื่อเฉลิมฉลองความภา คภูมิใจในวัฒนธรรมหญิงรักหญ ิงทั่วโลก
Bisexual – ใช้เรียกบุคคลที่มีรสนิยมชอ บได้ตั้งแต่ 2 เพศขึ้นไปทั้งในทางอารมณ์แล ะความสัมพันธ์ทางเพศ โดยในเดือนกันยายนนั้นจะมีก ารใช้สัปดาห์หนึ่งทั้งสัปดา ห์เพื่อโปรโมทกิจกรรม เรียกว่า ‘Bisexual Awareness Week’ ก่อนที่จะถึงวันที่ 23 กันยายนของทุกปีซึ่งเป็นวัน ‘Bi Visibility Day’ หรือวันแห่งการตระหนักรู้ถึ งการมีตัวตนของไบเซ็กชวล
Polysexual – ใช้อธิบายถึงบุคคลที่มีรสนิ ยมทางเพศได้หลายเพศ แต่ไม่ใช่ทุกเพศ และไม่ได้แปลว่ามีความสัมพั นธ์ได้หลายคน อย่าจำสับสนกัน
Pansexual – คำว่า ‘Pan’ มาจากภาษากรีก เมื่อถูกใช้เติมเข้าข้างหน้ าคำอื่นจะมีความหมายว่า ‘ทั้งหมด’ เป็นการเกิดแรงดึงดูดกับบุค คลอื่นโดยไม่ได้มีเพศของอีก ฝ่ายเป็นเงื่อนไข เพศของอีกฝ่ายไม่ได้มีผลกับ ความรู้สึกและแรงดึงดูดที่มีต่อบุคคลนั้น ซึ่งรวมไปถึงชอบคนที่ไม่ได้ นิยามตัวเองว่าเป็นเพศอะไรเ ลยอย่าง Agender โดยมีวันที่ 8 ธันวาคม เป็นวัน ‘Pansexual Pride Day’ เพื่อเฉลิมฉลองความเป็นแพนเ ซ็กชวล
Skolio-Sexual – ถูกใช้อธิบายบุคคลที่มีรสนิ ยมพึงพอใจในคนที่นิยามตัวเอ งว่าเป็น Non-binary หรือสนใจในคนที่ไม่ได้อยู่ใ ต้ร่มความเป็นชายหรือความเป็นหญิง
เสียงจากคนที่นิยามตัวเองว่
าเป็น Skolio-Sexual
“ฉันชอบคนที่เป็น Genderqueer ที่ไม่ได้มีทั้งความแข็งกระด้างหรือความอ่อนโยนจนเกินไ ป
สิ่งที่เขาเป็นมันดึงดูดฉันมากๆ”
Demi-Sexual – คือคนที่รู้สึกชื่นชอบในทาง อารมณ์กับคนสนิท ซึ่งอาจเกิดจากความผูกพันหรือความใกล้ชิด เป็นคนที่รู้สึกไว้ใจ แต่ความรู้สึกนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่อยู่ใกล้ต ัว มักเกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเท่านั้น
อีกหนึ่งเสียงจากคนที่นิยาม
ว่าเป็น Demi-Sexual
“ไม่ว่าเขาจะสวยหรือหล่อแค่ไหน แต่ถ้าเป็นคนแปลกหน้าที่ไม่ ได้รู้จักกันมาก่อน ฉันก็ไม่รู้สึกชื่นชอบอยู่ดี”
Grey-Sexual – ใช้อธิบายบุคคลที่มีแรงดึงดูดทางเพศไม่สม่ำเสมอ อาจจะรู้สึกบ้างแต่น้อยครั้ งมากๆ จนเรียกว่าแทบไม่มีเลย ซึ่งนิยามนี้ก็สามารถเกิดขึ ้นได้กับบุคคลที่เป็นเดมิเซ็กชวลไปพร้อมๆ กัน และไม่ได้แปลว่าจะไม่สามารถ มีเพศสัมพันธ์ได้ หรือจะไม่มีอารมณ์ทางเพศเลย เพียงแต่โอกาสที่จะเกิดขึ้น มีน้อยครั้งมากๆ
Asexual – คือคนที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเ พศกับใคร ต่างจากการถือพรหมจรรย์ ตรงที่เอเซ็กชวลเป็นรสนิยมท างเพศ แต่พรหมจรรย์เป็นทางเลือก อย่างไรก็ตามคนที่เป็นเอเซ็ กชวลบางคนสามารถมีเพศสัมพัน ธ์ได้ แค่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศกั บคู่นอน
Polyamorous – คือคนที่มีความปรารถนาหรือแ นวทางปฏิบัติเรื่องความสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เปิดเผยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้ องรับรู้ โดยสามารถเกิดขึ้นในคู่รักที่เป็นชายหญิงอยู่แล้ว แต่ฝ่ายหญิงรับผู้หญิงอีกคน เข้ามาเพิ่มในความสัมพันธ์ก็ได้เช่นกัน ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลง และเป็นความยินยอมในการมีคู่ครองหลายคนอย่างมีความรับผิดชอบ
Intersex – หมายถึงเพศสรีระของคนที่เกิ ดมามีคุณลักษณะทางกายภาพมาก กว่า 1 เพศในคนเดียว เช่น มีทั้งอวัยวะเพศหญิงและเพศช าย หรือมีโครโมโซมทึ่ไม่ใช่ XX หรือ XY หมอและครอบครัวมักจะเป็นคนเ ลือกเพศให้พวกเขาตั้งแต่เกิ ดหรือตั้งแต่ยังเด็ก โดยการผ่าตัดแปลงเพศแบบไม่เ ต็มใจ
MTF Transgender – ย่อมาจาก ‘Male-To-Female’ ใช้หมายถึงคนข้ามเพศจากชายเ ป็นหญิง คือ คนที่เกิดมาเป็นเพศชายโดยกำ เนิด แต่เพศในจิตใจเป็นหญิง อาจเรียกว่า Transwoman หรือ หญิงข้ามเพศ ได้เช่นกัน
FTM Transgender – ย่อมาจาก ‘Female-To-Male’ ใช้หมายถึงคนที่ข้ามเพศจากห ญิงเป็นชาย คือ คนที่เกิดมาเป็นเพศหญิงโดยกำเนิด แต่มีเพศในจิตใจเป็นชาย อาจเรียกว่า Transman หรือ ชายข้ามเพศ ได้เช่นกัน โดยมีวันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน ‘International Transgender Day of Visibility’ เพื่อเฉลิมฉลองและตระหนักถึ งการมีอยู่ของคนข้ามเพศ
Agender – หมายถึงหนึ่งในอัตลักษณ์ทาง เพศใต้ร่ม Non-binary หรือเป็นคำที่แสดงถึงการไร้ ซึ่งเพศสภาพก็ได้ Agender แต่ละคนจึงนิยามตัวเองต่างกัน บ้างก็บอกว่าตัวเองไม่มีเพศ บ้างก็บอกว่าตนเป็นเพศกลาง (ไม่เป็นทั้งหญิงและชาย) หรือ ไม่มีคำบอกเพศสภาพไหนอธิบาย ตัวเองได้ดีเท่า Agender แล้ว โดยทุกวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวัน Agender Pride Day
Genderfluid – เป็นอัตลักษณ์ทางเพศที่ลื่น ไหลไปมา และเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ใต้ ร่ม Non-binary โดยความลื่นไหลของแต่ละคนก็ ไม่เท่ากัน บางคนเปลี่ยนจากรู้สึกเป็นห ญิงไปเป็นเควียร์เพียงพริบต า บางคนสามารถรู้สึกเป็นหลายเ พศสภาพในเวลาเดียวกัน หรือเปลี่ยนจากรู้สึกเป็นเพ ศหนึ่งไปไม่มีเพศก็ได้ ทำให้เจนเดอร์ฟลูอิดมักจะเชื่อมโยงกับการแสดงออกทางเพศ ที่จะเปลี่ยนไปตามความรู้สึ กว่าตัวเองเป็นเพศอะไร
อีกเสียงหนึ่งจากคนที่เรียกตัวเองว่าเจนเดอร์ฟลูอิด
โดยใช้ชื่อ ‘Beth’ ขณะที่เป็นผู้หญิง และ ’Kurt’ ในตอนที่เป็นผู้ชาย เขาอธิบายว่าอัตลักษณ์นี้ไม่ใช่แค่ความไม่แน่ใจในเพศขอ งตนเอง “มันไม่ใช่คำเรียกชั่วคราวจ นกว่าฉันจะตัดสินใจได้ว่าตั วเองเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ฉันไม่ต้องเลือกก็ได้ เพราะบางครั้งฉันเป็นผู้ชาย และบางครั้งฉันเป็นผู้หญิง ฉันรู้สึกถูกจำกัดเวลาที่ต้ องนิยามตัวเองด้วยเพศเดียว”
Bigender – หรือ Dualgender เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ทางเพศ ใต้ร่ม Non-binary หมายถึงการมี 2 อัตลักษณ์ทางเพศในคนเดียว ซึ่งสามารถสลับไปมาหรือรู้สึกพร้อมกันทั้ง 2 เพศก็ได้
Trigender – คือคนที่นิยามตัวเองด้วย 3 อัตลักษณ์ทางเพศเป็นหนึ่งใน อัตลักษณ์ทางเพศใต้ร่ม Non-binary ซึ่งอาจรู้สึกว่าเป็นเพศนั้ นพร้อมกับทั้งหมด หรือเปลี่ยนแปลงลื่นไหลไปมา ก็ได้ระหว่าง 3 เพศนั้นก็ได้
Pangender – หรือ Omnigender เป็นอัตลักษณ์ทางเพศใต้ร่ม Non-binary ที่หมายถึงความรู้สึกว่าตัว เองเป็นเพศอะไรก็ได้ในขอบเข ตความรู้เรื่องเพศในวัฒนธรร มของตน ซึ่งสามารถเป็นได้หลายรูปแบ บ
เสียงจากคนที่นิยามตัวเองว่
าเป็นแพนเจนเดอร์
“บางครั้งฉันมองว่าเพศสภาพเหมือนสีมากมายที่ผสมกันอยู่ จานสี
เราจะมองไม่ออกว่าสีหนึ่งๆ เริ่มและจบที่จุดไหน แต่มันก็ยังคงสวยงาม”
Genderqueer – หมายถึงเพศสภาพที่อยู่นอกเห นือระบบ 2 ขั้วแบบชาย-หญิง และไม่สามารถใช้คำที่มีอยู่ อื่นๆ ในการนิยามเพศได้ เป็นความหมายเดียวกันกับคำว่า Non-binary
Laura A. Jacobs นักจิตบำบัดที่เชี่ยวชาญในป ระเด็นทรานส์และ Non-binary ผู้เรียกตัวเองว่า Genderqueer พุดถึงอัตลักษณ์นี้ว่า
“สำหรับฉัน เจนเดอร์เควียร์เกี่ยวกับกา
รเมืองเรื่องเพศโดยตรง
คำนี้ท้าทายกรอบเพศแบบเดิมและการเหมารวมคนแต่ละเพศ”
Demigirl – เป็นอัตลักษณ์หนึ่งใต้ร่ม Non-binary บางครั้งก็เรียกว่า Demiwoman หรือ Demifemale person คืออัตลักษณ์ทางเพศของคนที่ นิยามบางส่วนของตัวเองว่าเป็นหญิง และอีกส่วนเป็นเพศอะไรก็ได้ หรือไม่นิยามเพศ โดยเพศกำเนิดของเดมีเกิร์ลไ ม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิง
Demiboy – เป็นอัตลักษณ์หนึ่งใต้ร่ม Non-binary บางครั้งก็เรียกว่า Demiguy, Demiman หรือ Demimale person คืออัตลักษณ์ทางเพศของคนที่ นิยามบางส่วนของตัวเองว่าเป ็นชาย และอีกส่วนเป็นเพศอะไรก็ได้ หรือไม่นิยามเพศ โดยเพศกำเนิดของเดมีบอยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชาย
Androgyne – หรือ Androgynous มาจากคำภาษากรีกที่ว่า ‘ἀνδρόγυνος’ ซึ่งประกอบจากคำที่มีความหม ายว่า ผู้หญิงและผู้ชาย คำนี้จึงหมายถึงการรวมกันขอ งลักษณะความเป็นหญิงและความ เป็นชาย (ที่สังคมกำหนด) ในคนคนเดียว โดยคำนี้ถูกใช้ในภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 และใช้อธิบายได้ทั้งเพศกำเนิด (ก็จะหมายถึง Intersex) อัตลักษณ์ การแสดงออก และรสนิยมทางเพศ แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมาย ของอัตลักษณ์ทางเพศเท่านั้น
หนึ่งในไอคอนของแอนโดรไจน์ คือ ‘Ziggy Stardust’ ผู้เป็นตัวตนที่สอง (Alter Ego) ของ David Bowie ซึ่งปรากฏตัวขึ้นในปี 1972 โดยลุคที่เป็นที่จดจำของ Ziggy คือใส่ชุดบอดี้สูทแนบเนื้อ ทำผม Mullet สีแดงเพลิง และวาดรูปพระอาทิตย์สีทองบน หน้าผาก
Intergender – เป็นอัตลักษณ์ทางเพศของคนที ่รู้สึกว่าตนเองอยู่ระหว่าง หญิงและชาย หรือเป็นทั้งสองรวมกัน โดยเป็นอัตลักษณ์หนึ่งใต้ร่ ม Non-binary เคยมีข้อถกเถียงว่าคำนี้จะใ ช้โดยใครก็ได้ที่รู้สึกแบบดังกล่าว หรือ ควรใช้โดยคนที่มีเพศกำเนิด Intersex เท่านั้น เพื่อให้พวกเขามีคำบ่งบอกเพ ศสภาพที่สอดคล้องกับร่างกาย ในปัจจุบันได้ใช้กับ Intersex เท่านั้นส่วนคนที่ไม่ใช่ Intersex จะใช้คำว่า Androgyne แทน
Nonbinary – เป็นร่มและอัตลักษณ์ทางเพศที่หมายถึงเพศสภาพที่อยู่นอก เหนือระบบ 2 เพศ หรืออยู่นอกกรอบชาย-หญิง แปลว่าคนที่เรียกตัวเองว่าน อนไบนารี่สามารถนิยามตัวเอง มากกว่า 1 เพศสภาพ หรือไม่นิยามด้วยเพศใดเลยก็ ได้ หรือเป็นอัตลักษณ์ทางเพศใดก็ตามซึ่งมีมากมายที่อยู่ใต้ ร่มนอนไบนารี่
วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี คือ International Non-Binary People’s Day เพื่อให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของคนกลุ่มนี้และใช้ #ThisIsWhatNonBinaryLooksL ike เพื่อให้คนที่นิยามตัวเองว่ านอนไบนารี่ได้แสดงตัวตนให้ ผู้คนเห็นว่าในความเป็นนอนไ บนารี่เองก็มีความหลากหลายใ นตัวมันเองด้วย ทั้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา หรือการแสดงออกทางเพศ
Questioning – เป็นอีกหนึ่งความหมายของ Q ใน LGBTQ โดยหมายถึงคนที่ยังไม่ได้นิ ยามตนเองว่าเป็นเพศอะไร อาจจะยังไม่แน่ใจ อยู่ระหว่างการค้นหาตัวตน หรือกังวลกับการแปะป้ายเพศที่สังคมกำหนดให้กับตนเอง พวกเขาสามารถตั้งคำถามทั้งใ นแง่ของความรู้สึกว่าตัวเอง เป็นเพศอะไร ต้องการแสดงออกแบบไหน รวมไปถึงชอบเพศอะไร
แม้ว่าการหาสิ่งที่ตัวเองเป็นจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ ้นภายในเป็นหลัก แต่กลุ่ม Questioning ก็อาจให้เพื่อนทดลองเรียกชื่อใหม่หรือใช้สรรพนามแทนตนเ องใหม่ เพื่อให้รู้ว่าสะดวกใจกับกา รถูกเรียกแบบไหนมากกว่า
Homoromantic – คนที่ตกหลุมรักคนเพศเดียวกั นและเชื่อมโยงกันทางอารมณ์ อาจจะมีการแสดงความรักทางกา ย แต่ไม่ได้รวมไปถึงความต้องก ารมีเพศสัมพันธ์ด้วยเสมอไป
Steve Winter และ Thom Gray ต่างก็นิยามตัวเองว่าเป็น Asexual Homoromantic และแต่งงานกันไปเมื่อปี 2017 คนรอบตัวบอกว่าพวกเขาก็ดูเห มือนคู่รักอื่นๆ ที่ดูแลกัน ไปเดท และกอดจูบกัน พวกเขาบอกว่า “คนเรามีเซ็กซ์โดยไม่รู้สึก รักได้ แล้วทำไมจะรักกันโดยไม่มีเซ็กซ์ไม่ได้”
Biromantic – คนที่ตกหลุมรักคนเพศใดก็ได้ 2 เพศ หรือมากกว่านั้น โดยเชื่อมโยงกันทางอารมณ์ อาจจะมีการแสดงความรักทางกา ย แต่ไม่ได้รวมไปถึงความต้องก ารมีเพศสัมพันธ์ด้วยเสมอไป
Panromantic – คนที่ตกหลุมรักโดยไม่จำกัดว่าอีกฝ่ายต้องเป็นเพศอะไร และเชื่อมโยงกันทางอารมณ์ อาจจะมีการแสดงความรักทางกาย แต่ไม่ได้รวมไปถึงความต้องก ารมีเพศสัมพันธ์ด้วยเสมอไป โดยวันที่ 24 พฤษภาคม ของทุกปี คือ Pansexual and Panromantic Awareness and Visibility Day ที่จะส่งเสริมให้เกิดการตระ หนักรู้เกี่ยวกับเพศนี้และทำให้พวกเขาได้ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น
Aromantic – หรือเรียกอย่างย่อว่า ‘aro’ คือคนที่ไม่รู้สึกตกหลุมรัก ผู้อื่นและไม่ได้อยากอยู่ใน สถานะ ‘แฟน’ กับใคร แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขา รักไม่เป็น เพราะพวกเขายังรักและแคร์คน อื่นได้ เพียงแต่ความรู้สึกนั้นไม่ไ ด้เป็นแบบโรแมนติกเท่านั้นเ อง นอกจากนี้ Aromantic ไม่จำเป็นต้องมาคู่กับ Asexual อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน
บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้ว Aromantic จะอินเพลงรักหรือดูหนัง Rom-com สนุกอยู่ไหม คำตอบจาก Kotaline Jones นักวาดภาพประกอบและหนึ่งในเ จ้าของอินสตาแกรม @justaroacethings บอกว่า “ฉันชอบวาดรูปคู่รักมากๆ และโรแมนซ์เป็นแนวคิดที่น่า สนใจ” ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เราเป็น กับสิ่งที่เราชอบ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอ ไป
❤️
#HarmonyOfDiversity
#PrideMonthCalendar
อ้างอิง
https://spectrumth.com/2020/06/13/pride-month-calendar/