วันที่ 25 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม ในปีนี้ เป็น ‘สัปดาห์แห่งการตระหนักรู้ตัวตนของเลสเบี้ยน’ (Lesbian Visibility Week)
.
โดยสัปดาห์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการมีอยู่ ตัวตน ประวัติศาสตร์ ความหลากหลาย และวัฒนธรรม ‘L’ ใน LGBT+ ซึ่งหมายถึงเลสเบี้ยนหรือกลุ่มหญิงรักหญิง รวมทั้งสิ่งที่พวกของต้องเคยพบเจอ หรือถูกลบเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์
.
“L” และจุดกำเนิดของการเป็นตัวอักษรตัวแรกใน LGBT+ – ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้ายุค 80s ชุมชนชาวเพศหลากหลายในอดีตนั้นถูกรู้จักกันในนาม ‘GLBT+’ หรือใช้คำว่า ‘Gay’ เรียกเหมารวมผู้คนในชุมชนนี้ อีกทั้งยังมีการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในชุมชนเพศหลากหลายด้วยกันเอง อย่างการห้ามไม่ให้เลสเบี้ยน และผู้หญิงข้ามเพศผิวดำหรือผิวขาว สามารถเข้าไปในบาร์ของเกย์ผิวขาวได้
.
จนมาถึงช่วงยุค 80s ที่โรคเอดส์กำลังระบาดในอเมริกา มีเกย์และผู้หญิงข้ามเพศเสียชีวิตเพราะเอดส์เป็นจำนวนมาก ในยุคนั้นการเลือกปฏิบัติต่อเกย์และผู้หญิงข้ามเพศจึงร้ายแรงมาก ไม่ใช่เพราะการระบาดของโรคเอดส์ แต่เป็น “ความเข้าใจผิด” ที่ระบาดเหมือนกับโรคร้ายนี้ ถึงขั้นมีการเรียกโรคเอดส์ว่าเป็น ‘Gay Cancer’ หรือ ‘ภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับเกย์’ (Gay-related immune deficiency)
.
เกย์ถูกห้ามไม่ให้บริจาคเลือด หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโรคเอดส์ในโรงพยาบาลก็ถูกดูแลอย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ มีการบันทึกว่าบุคลากรณ์ทางการแพทย์ได้ปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือและจะไม่เข้าไปในห้องของผู้ป่วยโรคเอดส์ ในขณะที่ชุมชนกำลังอยู่ในความสิ้นหวัง ชาวเลสเบี้ยนก็ได้รวมกลุ่มกันในชื่อ ‘Blood Sisters’ เพื่อคอยทำการบริจาคเลือดอยู่เรื่อย ๆ และเข้าไปช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์
.
“จู่ ๆ โรงพยาบาลก็เต็มไปด้วยอาสาสมัครเลสเบี้ยน พวกเธอเข้าไปในห้องผู้ป่วยเหล่านั้นและช่วยเพื่อนของฉันที่กำลังจะตาย ฉันจำได้ว่ารู้สึกประทับใจกับพวกเธอมาก เพราะในสมัยนั้นเกย์ก็ไม่ได้ใจดีกับเลสเบี้ยนมากนัก พวกเรามักจะเรียกพวกเธอว่า ‘Fish’ (คำที่ใช้เรียกผู้ชายที่แต่งหญิงแล้วเหมือนผู้หญิง) และล้อเลียนเลสเบี้ยนที่ตัดผมสั้นเหมือนผู้ชายในบาร์ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเธอก็อยู่ที่นั่นเพื่อพวกเราในตอนนั้น” – นี่คือเสียงของ ‘Jon’ เกย์ที่อาศัยอยู่ในซานฟรานซิสโกสมัยที่โรคเอดส์ได้ระบาดในยุค 80s
.
ประวัติศาสตร์ในครั้งนี้เลยเป็นเหตุผลที่ GLBT+ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น LGBT+ โดยนำ L ที่มาจากคำว่า Lesbian ขึ้นก่อนเป็นคำแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความเคารพ และยกย่องชุมชนเลสเบี้ยนที่ได้ทำการช่วยเหลือชุมชนเควียร์ในยุคที่เอดส์ระบาด โดยได้ใช้คำว่า LGBT+ เป็นหนึ่งในคำเรียกครอบคลุมกลุ่มเพศหลากหลายแทนที่ Gay และ GLBT+
.
แต่ในปัจจุบัน ก็ได้มีผู้ที่แทนตัวเองว่าเลสเบี้ยน รวมถึงผู้หญิงเควียร์หลาย ๆ คนรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ถูกต้อนรับและยอมรับมากพอ ในสังคมโดยรวม สังคม LGBT+ หรือแม้กระทั่งในงาน Pride โดยผลสำรวจของแอป ‘Her’ (แอปหาคู่สำหรับผู้หญิงเควียร์) พบว่ามีผู้หญิงในชุมชน LGBT+ ถึง 31% ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ถูกต้อนรับในงาน Pride และมีเพียง 2 ใน 5 ของผู้หญิงเควียร์เท่านั้นที่ได้ไปร่วมงาน Pride ที่จัดขึ้นแถวที่อยู่ของพวกเขา
.
นอกจากนี้ เลสเบี้ยนหรือความสัมพันธ์แบบหญิงรักหญิงยังไม่ถูกมองเห็นหรือถูกพูดถึงมากนักในสื่อกระแสหลักเหมือนกับความสัมพันธ์ชายรักชาย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงยังถูกมองเป็นความบันเทิงทางเพศอยู่สำหรับผู้ชาย หรือยังมีคำพูดอยู่ว่า “เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ” ที่ผู้ชายสร้างมาเพื่อต้องการเปลี่ยนเลสเบี้ยนที่มีความเป็นชายให้กลับมามีความรู้สึกต่อผู้ชายเหมือนผู้หญิงตามบรรทัดฐานของสังคม
.
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ยังมีเลสเบี้ยนอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้สึกว่าในสังคมเรามี “พื้นที่ปลอดภัย” (Safe Space) สำหรับพวกเธอ แม้แต่ในชุมชนของ LGBT+ เอง เนื่องในวันนี้เป็นวันเลสเบี้ยนสากล เราจึงอยากเป็นอีกหนึ่งเสียง ที่เรียกร้องให้การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ร่วมกันครอบคลุม และปกป้องเลสเบี้ยนเหมือนอย่างที่พวกเธอเคยช่วยเหลือชุมชนนี้เอาไว้ในอดีต ให้เพศทุกเพศในสเปกตรัมได้ร่วมจับมือกันไปสู่อนาคตที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
.
Happy Lesbian Visibility Week
.
#LesbianVisibilityWeek
#Lesbian #AIDSPandemic
#TreatPeopleWithRespect
.
Content by Alexis to your Mimi
อ่านข่าวเรื่องเพศอื่นๆ : https://bit.ly/38MAJn4
.
อ้างอิง
Lgbtiqhealth: https://bit.ly/3lor1hm
Theforeword: https://bit.ly/3iJzGJD
Lgbtgreat: https://bit.ly/2YrALhZ
Investigo: https://bit.ly/3FsvV5a
Mattxiv: https://bit.ly/3uZwY7N
Medium: https://bit.ly/3oHeibO
inews: https://bit.ly/2YpPkTg
Urbandictionary: https://bit.ly/3074gGN
Pinknews: https://bit.ly/3AklIUx
Opendemocracy: https://bit.ly/3Aii5OR
Buzzfeednews: https://bit.ly/3BuA0na
gcn: https://bit.ly/3Br4NB3
#SPECTRUM #พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน