บทความของ M-CAB
การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์
การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย การติดเชื้อเปลี่ยนจากคนที่ติดยาเสพติดมาเป็นคนวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และไม่รู้จักป้องกันตัวเอง การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์จึงมีความสำคัญ บทความนี้จะเน้นเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์
หลักฐานว่าการใช้ยาสามารถป้องกันโรคเอดส์
- จากการทดลองในสัตว์พบว่าหากให้ยาต้านไวรัส หลังจากการฉีดเชื้อเอดส์เข้าไป 4 ชั่วโมงและให้ยานาน 28 วัน ผลไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ
- แต่ลดปริมาณเชื้อต้องเน้นว่าเป็นการฉีดเชื้อเข้าไป
- เมื่อทดลองใหม่โดยการนำเชื้อไปป้ายที่เยื่อบุช่องคลอด และเริ่มให้ยาที่ 12 ,36, ผลพบว่า 3/4รายที่ให้ยาหลังจากสัมผัสเชื้อ 72 ชม.ไม่ติดเชื้อ ส่วนอีกรายหนึ่งพบว่าติดเชื้อแต่ได้รับเชื้อไปน้อย (การที่ป้ายเชื้อที่เยื่อบุช่องคลอด เปรียบเสมือนการมีเพศสัมพันธ์ ตามปกติโดยที่ไม่เกิดแผล จากการทดลองพบว่าจะพบเชื้อในกระแสน้ำเหลือง 2 วันหลังจากได้รับเชื้อ พบเชื้อในกระแสเลือดหลังจากได้รับเชื้อ 5 วัน ซึ่งจากการทดลองทำให้ทราบว่า การให้ยาป้องกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
- จากผลการให้ยาต้านไวรัสสำหรับเด็กที่มีแม่เป็นโรคเอดส์ พบว่าเมื่อให้ยาแก่เด็กที่เกิดมาใน 72 ชั่วโมงจะลดอัตราการเกิดโรคได้ร้อยละ 50 หากให้เกิน 72 ชั่วโมงผลจะไม่ดี
- จากการศึกษาในประเทศบราซิลโดยจะให้ยา 2 ชนิดหากตรวจช่องคลอดแล้วไม่พบแผล ให้ยา 3 ชนิดหากช่องคลอดมีแผล จะให้ยาเมื่อมาใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสโรค ผลพบว่าผู้ที่ได้รับยา 180 คนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด ผู้ป่วย 145 คนที่ไม่ได้รับยา(มาเกิน 72 ชั่วโมง)มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 2.7
- ยังมีการศึกษาอีกหลายอันที่บ่งว่าการให้ยาป้องกันสามารถลดอัตราการติดเชื้อโรคเอดส์
-
ผลเสียของการให้ยาป้องโรคเอดส์หลังสัมผัสโรค
- เมื่อประชาชนรู้ว่ามียาที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ ประชาชนจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงมากขึ้น พบว่ามีประชาชนร้อยละ 14 จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น และร้อยละ 17 ต้องมารับยาป้องกันเป็นครั้งที่2
- ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเช่น คลื่นไส้อาเจียน(57%) อ่อนเพลีย(38%) ผลเลือดผิดปกติ(8%) ผลข้างเคียงมากจนต้องหยุดยา(1.3%)
- เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค เนื่องจากยาไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด เชื้อที่เร็ดรอดไปก็อาจจะดื้อยาได้
การป้องกันคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือไม่
ความคุ่มค่าหมายเงินที่ลงทุนไปว่จะให้ผลดีคุ้มค่ากับเงินที่ลงไปหรือไม่ มีการศึกษาที่แสดงว่าคุ้มค่าดังนี้
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคเอดส์
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก(ฝ่ายถูกกระทำ)จากผู้ที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเอดส์หรือไม่
เมื่อคุณมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน คุณจะทำอย่างไร
เมื่อท่านมีเพศสัมพันธ์กันคนที่เป็นโรคเอดส์ หรือกับคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ หรือท่านไม่ทราบว่าเขาเป็นโรคหรือไม่ ให้ท่านทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เจาะเลือดตรวจ เนื่องจากคนที่เป็นโรคส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ดังนั้นจะต้องเจาะเลือดว่าติดเชื้อหรือไม่ หากท่านไม่ติดก็อาจจะต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเงื่อนไขครบ
- เมื่อไรจึงให้ยา เนื่องจากการให้ยาจะได้ผลเมื่อให้ใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัส และการให้ยาจะมีผลข้างเคียง ดังนั้นจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อนั้นนานๆครั้ง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้แก้เรื่องพฤติกรรมและได้รับเชื้อนั้นเป็นประจำ เช่นผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือผู้ที่มีสามีหรือภรรยาเป็นโรคและไม่ได้มีการป้องกัน กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะได้รับยาเพื่อป้องกัน
- เจาะเลือดคนที่ให้เชื้อ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งเชื่อน้ำเชื้อ เลือดของผู้ที่เป็นโรคเอดส์จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค การให้ยาป้องกันภายใน 72 ชั่วโมงสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ระดับหนึ่ง ดังนั้ควรจะนำคนที่ท่านสัมผัสมาเจาะเลือดตรวจและซักประวัติ หากเพิ่งจะติดเชื้อโรคเอดส์ในร่างกายเขาจะมีเชื่อจำนวนมากเพราะแนั้นโอกาสที่จะติดเชื้อก็มาก แต่หากไม่สามารถนำมาเจาะเลือด และพิจารณาว่าเขาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น พวกติดยา พวกรักร่วมเพศ พวกสำส่อนทางเพศ ก็อาจจะให้ยาเพื่อป้องกันไปก่อนและนำผู้ต้องสงสัยมาเจาะเลือด หากไม่เป็นก็หยุดยาได้ทันที
- วิธีการได้รับเชื้อ จากตารางข้างล่างจะแสดงอัตราการติดเชื้อ พบว่าการได้รับเลือดจากคนที่เป็นโรคจะมีอัตราการติดเชื้อสูงสุด รองลงมาได้แก่การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การถูกเข็มตำ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก(ฝ่ายกระทำ) การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
นอกจากโรคเอดส์แล้วยังต้องตรวจโรคอย่างอื่นหรือไม่
- การป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี
- การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การป้องกันการตั้งครรภ์
คำแนะนำสำหรับการให้ยาป้องกัน
- เมื่อท่านสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด น้ำเชื้อ หรือสารคัดหลั่งอื่นของผู้ที่เป็นโรคเอดส์ และให้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดก่อน 72 ชั่วโมงควรจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแนวทางแนะนำ และควรจะให้ยานาน 28 วัน
- ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยาตัวไหนดีที่สุด แต่จากประสบการณ์สูตรเหล่านี้ให้ผลดี เช่น efavirenz และ lamivudine หรือ emtricitabine และ zidovudine หรือ tenofovir (as a nonnucleoside-based regimen) และ lopinavir/ritonavir (coformulated in one tablet as Kaletra ? ) และ zidovudine ร่วมกับ lamivudine หรือ emtricitabine
- ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยา 3 ชนิดจะดีกว่า 2 ชนิด แพทย์และผู้ป่วยต้องปรึกษาว่าถึงผลดีผลเสียของการใช้ยา 3 ชนิด
- หากได้ประวัติจากผู้ให้เชื้อ ต้องซักประวัติว่าเคยได้ยาต้านไวรัสมาก่อนหรือไม่ เจาะดูปริมาณเชื้อเมื่อใด ดื้อต่อยาชนิดไหนเพื่อที่จะได้ปรับการให้ยาป้องกัน
- สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นมีเพศสัมพันธ์ หรือสัมผัสสารคัดหลังเช่นเลือด และพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมงแต่ไม่ทราบว่าคนที่ให้เป็นโรคหรือไม่ แพทย์จะไม่แนะนำหรือต่อต้านการให้ยาป้องกัน แต่จะพิจารณาถึงผลดีผลเสียของการให้และไม่ให้ยาป้องกัน
- ถ้าไม่ทราบว่าผู้ที่เราสัมผัสติดเชื้อหรือไม่ การสัมผัสไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การให้ยาป้องกันอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- หากวิธีการได้รับเชื้อ เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ หรือพบแพทย์เกิน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสไม่แนะนำให้รับยาป้องกันเพราะไม่ได้ผล
ผู้ที่ได้รับยาป้องกันต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
- ยาที่ได้ช่วงแรกไม่เกิน 3-5 วันเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ผลเลือดที่ตรวจเป็นอย่างไร และได้รับคำปรึกษาเกี่ยวการใช้ยาหรือโรค
- หากแพทย์ไม่คุ้นกับการใช้ยา ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรายที่คิดว่าเชื้อจะดื้อยา เด็ก คนท้องต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ที่ได้รับยาไม่ควรจะหยุดยาเอง หากมีอาการจากยาให้ปรึกษาแพทย์
- ผู้ที่สัมผัสโรคควรจะได้รับการตรวจหาภูมิต่อเชื้อไวรัส HIV ที่ 4-6 สัปดาห์ 3และ6 เดือนหลังจากสัมผัสเพื่อดูว่าได้รับเชื้อไปหรือเปล่า นอกจากนั้นยังต้องตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี การตั้งครรภ์
- ผู้ที่สัมผัสโรคควรจะรู้เกี่ยวกับอาการแสดงของการติดเชื้อ HIV
- ผู้ที่สัมผัสโรคต้องป้องกันการติดเชื้อไปสู่คนอื่นโดยการงดหรือสวมถุงยางหากมีเพศสัมพันธ์ จนกระทั่งพิสูจญ์ว่าไม่ได้รับเชื้อจากคนป่วย
- สำหรับผู้ที่นำเชื้อมาแพร่ก็ควรที่จะได้รับการรักษาและคำแนะนำเพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ตารางแสดงแนวทางการให้ยาป้องกันการติดเชื้อ
ตารางแสดงอัตราการติดเชื้อโรคเอดส์
วิธีการได้รับเชื้อ
อัตราการติดเชื้อต่อ 10000 สัมผัส
การได้รับเลือดจากคนที่ติดเชื้อโรคเอดส์
9000
การใช้เข็มร่วมกันของผู้ที่ติดยาเสพติด
67
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร(ผู้ถูกกระทำ)
50
ถูกเข็มตำ
30
การร่วมเพศทางช่องคลอด(ผู้ถูกกระทำ)
10
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร(ผู้กระทำ)
6.5
การร่วมเพศทางช่องคลอด(ผู้กระทำ)
5
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก(ผู้ถูกกระทำ)
1
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก(ผู้กระทำ)
.5
อาการของผู้ได้รับเชื้อ
อาการและอาการแสดง
ร้อยละ
ไข้
96
ต่อมน้ำเหลืองโต
74
เจ็บคอ
70
ผื่น ตามลำตัว หน้า ปากเป็นแผล หลอดอาหารอักเสบ
70
ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
54
ท้องร่วง
32
ปวดศรีษะ
32
คลื่นไส้อาเจียน
27
ตับม้ามโต
24
น้ำหนักลด
13
ผื่นในปาก
12
อาการทางระบบประสาท
12
สรุปแนวทางปฏิบัติเมื่อคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เช่นร่วมเพศกับคนอื่น
- เจาะเลือดตัวคุณเองก่อนเพื่อดูว่าตัวคุณเองเคยได้รับเชื้อมาก่อนหรือไม่
- หากไม่ทราบว่าคนที่คุณยุ่งเกี่ยวด้วยติดเชื้อหรือไม่ ก็ให้นำคนนั้นมาเจาะเลือดเช็คอย่างรีบด่วน
- หากทราบว่าเป็นโรคเอดส์หรือผลเลือดบอกว่าเป็นโรคนี้ และคุณพบแพทย์ก่อน 72 ชั่วโมงก็พิจารณาให้ยาป้องกัน หากคุณพบแพทย์หลังสัมผัสโรคเกิน 72 ชั่วโมงก็ไม่ต้องให้
- หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงบ่อยๆ การให้ยาอาจจะให้ผลไม่ดี