บทความของ M-CAB
การอบรมเรื่องการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชนด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ณ นครสวรรค์
การอบรมเรื่องการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชนด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ณ นครสวรรค์
วัตถุประสงค์การจัดอบรม
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักการเรื่อง สิทธิมนุษยชน ถือเป็นหัวใจสาคัญที่คนทำงานและเครือข่ายชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาศักยภาพ เพิ่มความรู้ความเข้าใจแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูลประสบการณ์จากวิทยากรและผู้เข้าร่วมการอบรม เกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสร้างความเข้าใจต่อเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาค จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการอบรมไปปรับใช้ในการทำงาน และผลักดันให้เกิดการแก้ไขนโยบายที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและสังคม อันนาไปสู่เป้าหมายของการทางานระดับประเทศที่ต้องการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวี/เอดส์
คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศและคณะทำงานชุมชนประจำคลินิกชุมชนสีลมได้รับการอบรมเรื่องผลกระทบของทัศนคติเชิงลบจากสังคมต่อกลุ่มเป้าหมายในการทำงาน โดยที่แนวคิดเชิงลบจะส่งผลต่อการทางานด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทางานในเชิงป้องกัน การเข้าถึงการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และการทางานเพื่อลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ ได้รับการอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายยถึง สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนแต่ละคนมีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาวะสุขภาพ เป็นต้น สิ่งจำเป็นที่เหมือนกัน ได้แก่ ปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ) การศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การมีรายได้ เป็นต้น สิ่งจำเป็นเหล่านี้สำหรับมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือภาษาใดในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และสิ่งจำเป็นพื้นฐานนี้เพื่อทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่รอด มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนเองได้ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนจึงเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เมื่อพูดถึงสิทธิมนุษยชน จึงหมายถึง “...สิ่งจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนต้องได้รับในฐานะที่เป็นมนุษย์ เพื่อให้สามารถอยู่รอด ให้มีความมั่นคงในชีวิต และสามารถพัฒนาตนเอง ....” และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของแต่ละคนมีความเหมือนหรือต่างกัน และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย ทั้งนี้ รัฐมีหน้าที่ต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนคือให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ปกป้องและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมและเผยแผ่ให้ทุกคนได้รับสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกัน โดยประชาชนมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิของผู้อื่นและรักษาผลประโยชน์ของชุมชนและสังคม ได้รับการอบรมเรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 30 ข้อ อันมีลักษณะสำคัญคือ สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิติดตัวของคนทุกคนตั้งแต่เกิด (สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ) ดังนั้นรัฐจึงเข้าแทรกแซงได้อย่างมีข้อจำกัด สิทธิมนุษยชน เป็นของคนทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ อาชีพ สถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม สุขภาพ ความคิดเห็นทางการเมือง (สิทธิมนุษยชนเป็นสากล) สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทุกคนที่ต้องได้รับ (สิทธิมนุษยชนเป็นมาตรฐานขั้นต่าของการปฏิบัติต่อมนุษย์) สิทธิมนุษยชนเป็นองค์รวม ไม่มีสิทธิแบบใดมาก่อนหรือสาคัญกว่าอีกแบบหนึ่งและไม่แยกออกเป็นส่วนๆ ( สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีความสาคัญเท่ากับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม) และรัฐหรือกลุ่มใดจะออกกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมาย ที่ขัดหรือแย้งต่อสิทธิตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลฯ ไม่ได้ (สิทธิมนุษยชนไม่มีพรมแดน) และมีหลักการสำคัญคือ หลักการเรื่อง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” หลักการเรื่อง “ความเสมอภาคเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ” และหลักการเรื่อง “ภราดรภาพ” หรือ สันติวิธี ได้รับการอบรมเรื่องการละเมิดสิทธิและผลของการละเมิดสิทธิว่าการละเมิด ตีตรา และเลือกปฏิบัติมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทางานและในที่อื่นๆ เช่น ชุมชนที่เราอาศัยอยู่หรือในชุมชนของกลุ่มประชากรเป้าหมาย เมื่อเราถูกละเมิดจะมีผลต่อสภาวะอารมณ์และความรู้สึกที่ไม่ดี ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคม ชุมชน หรือบางคนส่งผลให้มีการไปละเมิดบุคคลที่กระทำต่อเราด้วย เช่น มีการตบที ทะเลาะวิวาทกับคู่กรณี หรือการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เป็นต้น ทั้งนี้ การละเมิดต่อบุคคลอื่นมักเป็นไปด้วยเหตุผลที่เข้าข้างตัวผู้ละเมิด เป็นเหตุที่เราอธิบายให้ผู้ละเมิดปลอดภัยหรือดูดี เช่น ไม่อยากให้เพื่อนเสียคน หวังดี ห่วงใย เป็นห่วง แค่สนุกๆ ต้องการช่วยเหลือ เป็นต้น ได้รับการอบรมเรื่องการตีตรา (การให้คุณค่าของบุคคลนั้นเป็นลบ แบ่งเค้าแบ่งเรา ด้อยค่าในสายตาของสังคม) และการเลือกปฏิบัติ (การเลือกกระทำอย่างไม่เท่าเทียมกันหรือไม่เป็นธรรมต่อปัจเจกหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคล /สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม, เพศ, เชื้อชาติ)
คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศและคณะทำงานชุมชนประจำคลินิกชุมชนสีลมได้ระดมสมองเพื่อประเมินและกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ ดังนี้ กลุ่มผู้ประสานงานระดับนโยบายควรหาแนวทางบริการที่เป็นมิตรเพื่อลดการตีตรา และนำเสนอข้อมูลให้กับชุมชน พร้อมทั้งสรรหาผู้ช่วย และทำความเข้าใจเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มสื่อ นโยบาย แหล่งทุนควรเสริมสร้างทัศนคติที่ดี อย่างต่อเนื่อง สร้างการมีส่วนร่วม ไม่ลดคุณค่าไม่ตีตราตัวเอง เสริมสร้างภาพลักษณ์ ประโยชน์ความรู้ ความเสมอภาค เท่าเทียม ส่งเสริมการเข้าถึง ภาคการศึกษา อาชีพ และให้ข้อมูลรวมถึงใช้ข้อมูลทางวิจัยว่าไม่ได้เป็นภาพลบอย่างที่คิด กลุ่มทำงานในพื้นที่/ภาคสนามควรปรับทัศนคติของตนเองก่อน สร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง