บทความของ M-CAB
การอบรมเรื่องแนงทางการตรวจรักษาและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและสิทธิสุขภาพของประเทศไทย
วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2559 ณ กาญจนบุรี
การอบรมเรื่องแนงทางการตรวจรักษาและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและสิทธิสุขภาพของประเทศไทย
วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2559 ณ กาญจนบุรี
วัตถุประสงค์การจัดอบรม
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนความเข้าใจหลักการสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสุขภาพและสิทธิด้านเอดส์
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิสุขภาพและสิทธิด้านเอดส์
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจสาระสำคัญของบันทึกข้อเท็จจริงการละเมิดสิทธิสุขภาพและสิทธิด้านเอดส์เพื่อการแก้ไขปัญหาและการขับเคลื่อนทางนโยบาย
คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศและคณะทำงานชุมชนประจำคลินิกชุมชนสีลมได้รับการอบรมเรื่องเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัสของประเทศไทยตามแนงทางฉบับปี 2557 ที่แนะนำให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 ทั้งภายใต้ระบบประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับการอบรมถึงทิศทางการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีสำหรับประเทศไทยที่ต้องการหยุดการใช้ d4T ในปี 2558 ลดการใช้ AZT เพิ่มการใช้ TDF ใช้ TDF+3TC+EFV หรือ TDF/FTC+EFV ในรูปแบบรวมเม็ด ใช้ ABC แทน TDF ในคนที่มีปัญหาเรื่องไต ลด/เลิกการใช้ NVP (GPOvir-s30 และ Z250) ปรับขนาดการใช้ EFV จาก 600 มก. เป็น 400 มก. เป็นต้น ได้รับการอบรมเรื่องหลักการกินยาป้องกันก่อนเสี่ยง (PrEP) ด้วยาสูตร TDF/FTC วันละเม็ด สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรืออยู่ในกลุ่มประชากรที่มีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อเอชไอวีสูงมาก โดยให้ส่งเสริมใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ใช้ยา PrEP ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย โดยได้รับข้อมูลความรู้เพิ่มเติมว่าไม่มีข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่ามีปฏิกิริยาระหว่างยา PrEP และผลิตภัณฑ์เสริมความงามหรือไม่ ควรให้การปรึกษาแก่ผู้รับยา PrEP ก่อนว่าไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกได้ และยา PrEP ไม่มีผลกระทบกับยาตัวอื่น กินร่วมกับยาโรคกระเพาะได้ กินร่วมกับยาเมธาโดนได้ ได้รับการอบรมทบทวนเรื่องสิทธิมนุษยชน สามรถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ตาม Universal Declaration of Human Rights คือ สิทธิพลเมือง (Civil Rights) สิทธิทางการเมือง (Political Rights) สิทธิทางสังคม (Social Rights) สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) และสิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) แต่ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองและปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้ว่ารัฐธรรมนูญฯ จะระบุว่า ห้ามเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ และในปี พ.ศ. 2555 ครม. จะมีมติเห็นชอบในหลักการของร่าง พรบ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ..... ก็ตาม เพราะมาตรา 3 ของร่าง พรบ. ฉบับนี้เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการ ศาสนา และเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ และกรอบวัฒนธรรมไทยยังคงไม่เปิดช่องให้สามารถนำหลักการสิทธิมนุษยชนมาใช้ได้อย่างแท้จริง (วัฒนธรรมไทยมองว่าผู้เรียกร้องสิทธิเป็นพวกก่อความวุ่นวายในสังคม เอาแต่เรียกร้องสิทธิแต่ไม่รู้จักหน้าที่พลเมืองที่ดี) ได้รับการอบรมทบทวนเส้นทางการตีตรา มาจาก ความคิด/ความเชื่อ/วัฒนธรรม -> กำหนดชุดคุณค่า -> ตัดสิน -> ตีตรา -> เลือกปฏิบัติ -> ลิดรอน/ละเมิดสิทธิ และเส้นทางการเรียกร้องสิทธิ คือ ปกป้อง/เรียกร้องสิทธิ -> ฟื้นคุณค่าความเป็นมนุษย์และคืนความเป็นมนุษย์ให้เพื่อนร่วมสังคม ได้รับการอบรมเรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและสิทธิของจำเลย และได้รับการอบรมเกี่ยวกับหลักกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านเอดส์ เช่น การบังคับตรวจเลือดขัดต่อ รธน. 2550 การให้ออกจากงานเนื่องจากเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีขัดต่อ รธน. 2550 มาตรา 30 การตรวจเลือดโดยไม่ได้รับความยินยอมขัดต่อข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2556 หมวด 3 ข้อ 4 การแจ้งผลเลือดแก่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมขัดต่อ รธน. 2550 มาตรา 35 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 322 และ 323 ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 420 และ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 มาตรา 7 และได้รับการอบรมเรื่องหลักการบันทึกข้อเท็จจริง คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร เช่น ใครถูกละเมิด ใครเป็นผู้ละเมิด ละเมิดเมื่อไร่ ละเมิดที่ไหน ละเมิดอย่างไร กระทำโดยการสอบข้อเท็จจริงจากผู้ถูกละเมิดและผู้อยู่ในเหตุการณ์ และหาข้อเท็จจริงจากสื่อ กล้องวงจรปิด รายงาน เอกสาร ข่าว และสถานที่และสถานการณ์จริง(การละเมิดโดยบุคคล/สถานประกอบการเดียวกันต่อผู้อื่น) เมื่อสอบข้อเท็จจริงแล้ว ควรให้ความช่วยเหลือด้วย โดยเริ่มจากการประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ ให้ความช่วยเหลือโดยตรงหรือส่งต่อ และบันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้มีข้อควรคำนึงคือ ต้องมีท่าทีเป็นมิตรและเคารพ ไม่กดดัน ไม่คาดคั้น ระวังคำถามที่อาจกระทบจิตใจ ไม่เออออหรือสรุปเอาเอง ไม่มีอารมณ์ร่วม ทำการสอบข้อเท็จจริงในสถานที่ปลอดภัยไร้สิ่งรบกวน แจ้งเหตุผลในการสอบถามข้อมูลทุกชนิดว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรมีความสำคัญต่อรูปคดีอย่างไร ต้องเก็บข้อมูลที่ได้เป็นความลับ เผยแผ่ได้เฉพาะในส่วนที่ไม่ระบุตัวตนของผู้ถูกละเมิดหรือได้รับความยินยอมแล้ว ทวนบันทึกให้เจ้าตัวยืนยันความถูกต้อง สำเนาข้อมูลให้ผู้ถูกละเมิดเก็บไว้ใช้ขอความช่วยเหลือ และอย่ารับปากในการให้ความช่วยเหลือโดยไม่จำเป็น
คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศและคณะทำงานชุมชนประจำคลินิกชุมชนสีลมมีข้อคำถามและข้อคิดเห็นคือ พบการระบุในแบบเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ว่า การเป็นสาวประเภทมองเป็นเรื่องที่ผิด จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบเรียนเพื่อไม่ให้กลุ่มความหลากหลายทางเพศเป็นจำเลยของสังคม และได้รับคำแนะนำว่าในกรณีที่ถูกข่มขืนให้ไปตรวจร่างกายก่อนเพื่อรับยาป้องกันการติดเชื้อให้ทันท่วงที และจะได้เอาผลการตรวจร่างกายไปใช้ประกอบการแจ้งความ และได้รับคำแนะนำเรื่องคำหมิ่นประมาทว่า โดยหลักการองค์ประกอบของความผิด ต้องพิจารณาว่าเป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง/ถูกดูหมิ่น/ถูกเกลียดชัง เช่น กรณีการเรียก “อีตุ๊ด” หากไม่ทำให้ผู้ถูกเรียกเกิดความเสียหาย/เสียชื่อเสียง/ถูกดูหมิ่น/ถูกเกลียดชัง ก็ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด