วัตถุประสงค์การจัดอบรม

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดและความสาคัญของการวางแผนงาน การวิเคราะห์สถานการณ์สำหรับการวางแผนงาน และการจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันของคณะที่ปรึกษาชุมชนฯ 
  2. เพื่อให้สามารถนำแผนงานที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมในชุมชนของตนเอง ตลอดจนสามารถติดตาม ทบทวน ประเมินผลแผนปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลร่วมกัน

คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศและคณะทำงานชุมชนประจำคลินิกชุมชนสีลมได้สรุปประเด็นหัวใจของการทำงานของคณะที่ปรึกษาชุมชนฯ คือ การผลักดันนโยบาย (advocacy) สำคัญๆ ได้ เนื่องจากมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น จึงน่าจะพัฒนาแผนงาน ใน 2 ข้อ หลัก คือ 1 จัดทำแผนงานภาพรวมแบบกว้างที่เป็นกระบวนงานเสริมภาพรวมร่วมกันของ M-CAB ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ในเชิงตั้งรับ โดยเฉพาะการติดตามสถานการณ์ที่มีความโดดเด่นอยู่เดิมแต่อาจจะเพิ่มการสะท้อนกลับผลการทางานให้ทันต่อสถานการณ์ร่วมกัน เช่น การรณรงค์เชิงนโยบายที่เคยทำสำเร็จอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อผลักดันนโยบายให้สำเร็จ เช่น ใน 1 ปี ทำเรื่องเด่นๆ 1 เรื่อง และตามเรื่องเก่าให้สำเร็จ โดยเฉพาะการทำงานเรื่องสิทธิ์ ที่ต้องการการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน หรือการรณรงค์สะท้อนเสียงจากกลุ่มเป้าหมายที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียง ผ่านช่องทางของการร้องเรียนที่มาถึง M-CAB ในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได้ และ 2 จัดทำแผน/กิจกรรมที่เฉพาะเจาะจง สำหรับเสริมศักยภาพคณะที่ปรึกษาฯ โดยมุ่งเน้นการติดตามประเมินผลการให้คำปรึกษา และการทำงานตามข้อตกลงของคณะที่ปรึกษาฯ ซึ่งอาจจะแสวงหา/ประสานหน่วยงานที่มีความถนัดในเรื่องนั้น เช่น ติดตามประเมินผลโดยผู้ชานาญการ และเรียนรู้การเสริมศักยภาพของผู้ส่งเสริมผลักดันนโยบาย ได้รับการอบรมเรื่องหลักคิด LOGIC MODEL ที่เป็นหลักคิดของความเป็นเหตุเป็นผล เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้มองเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละกิจกรรม/โครงการ/การทางาน ที่ส่งผลซึ่งกันและกันได้ คือ เราต้องกำหนดเป้าหมาย/อยากได้อะไรก่อน แล้วคิดย้อนกลับมาว่า ถ้าจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นจะต้องทาอะไรบ้าง และในแต่ละกิจกรรมนั้นๆ จะต้องมีคน มีเงิน มีของแบบไหน ถึงจะเกิดผลอย่างที่อยากได้ แล้วเมื่อถึงเวลาลงมือปฏิบัติจะได้กำกับ/ติดตามให้ดำเนินงานตามที่ได้วางแผนไว้ หรือปรับแก้ไขให้เป็นไปตามเงื่อนไข/เวลาที่กำหนด ซึ่งก็คือการควบคุมคุณภาพ และการติดตามประเมินผลไปในตัวนั่นเอง และได้มีมติสรุปประเด็นขับเคลื่อนงานในอีกปีครึ่งข้างหน้า คือ สิทธิ์ด้านสุขภาพของชุมชนหลากหลายทางเพศ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่ม M-CAB รวมทั้งสามารถเสริมการทำงานได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายขององค์กร/หน่วยงานสมาชิกได้ด้วย

นอกจากนี้ สมาชิกคณะที่ปรึกษาชุมชนฯ เล็งเห็นว่ากลุ่มเองยังขาดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กรสมาชิก M-CAB เพื่อร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในประเด็น/ปัญหา ดังนี้คือ การรับเรื่องร้องเรียน การรวบรวมประเด็นสถานการณ์ที่พบในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ สรุปผลการดาเนินงานช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ การเกาะติดประเด็นงานเดิมที่ต้องทาอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาประเด็นงานใหม่ที่ต้องปรับตามสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น โดยประเด็นสิทธิ์และสุขภาพที่ M-CAB น่าจะเป็นแกนกลางรวบรวมข้อมูล/กระบวนการทำงานให้สอดรับกับแนวนโยบายของประเทศในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ PrEP สิทธิ์การตรวจเลือด สิทธิ์ประกันสังคม สิทธิ์ สปสช. ศูนย์ข้อมูลหรือฐานข้อมูลของสถานประกอบการ/สถานทางาน/สถานบริการ ที่เกี่ยวข้องกับการกาหนด/บังคับให้ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีก่อนเข้าทางาน (หรือสมัครงาน) ฐานรับแจ้งรับเรื่องร้องเรียนจากการถูกละเมิดสิทธิ์บังคับให้ตรวจเลือด ฐานข้อมูลสมาชิก องค์กรไหน ทางานกับกลุ่มไหน สถานการณ์ปัญหาที่พบกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ และข้อมูลพื้นฐานเรื่องสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และเอชไอวี และศูนย์ข้อมูลเรื่องสิทธิของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ซึ่งได้มีมติสรุปตกลงเรื่องประเด็นกระแสหลัก และกระแสรอง ของการทำงานในระยะต่อไป ดังนี้ ประเด็นกระแสหลัก คือการรณรงค์เรื่อง Any CD4 คือ สิทธิ์ได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง และเมื่อตรวจพบเชื้อเอชไอวีต้องได้รับยาต้านไวรัสทันทีไม่ว่าจะมี CD4 อยู่ที่ระดับเท่าไรก็ตาม (มีประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้อง คือ ข้อมูล และสิทธิ์ ในการตรวจเลือดฟรี ปีละ 2 ครั้ง ผลักดันนโยบายกับผู้ให้บริการ ผลักดันนโยบายกับสถานประกอบการห้ามบังคับตรวจและดูผลเลือด รณรงค์ข้อมูลสิทธิ์ในการตรวจเลือดและการรักษา) โดย คณะที่ปรึกษาชุมชนฯ มีบทบาทในการประสานงาน/เป็นกาวเชื่อม ดูแลความก้าวหน้าของภาพรวม และคอยแจกจ่ายงานตามห้วงเวลาของการทางานตามแผน และประเด็นกระแสรอง คือการรณรงค์เรื่องสิทธิ์และระบบส่งต่อบริการ ในสถานศึกษาสังกัด กทม. รวมถึงระบบริการ-ส่งต่อในโรงเรียน ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขการตีตรา การรังเกียจ ของครูก่อน เป็นหน่วยรวบรวมฐานข้อมูลของการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิ์และสุขภาพกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ต้องร่วมมือกันทุกหน่วยงาน/องค์กรสมาชิก ผลักดันระบบการดูแลต่อเนื่องหลังจากรับรู้ผลเลือดแล้วให้ปฏิบัติตามแนวทางฯ ปี 2557 ปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง PrEP และให้ข้อมูลที่ถูกต้องไปควบคู่กัน รณรงค์การควบคุมคุณภาพการรักษาและการติดตามผลระยะยาวต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ประกันสังคม รณรงค์ Community clinic โดยการอบรมเสริมศักยภาพคนทำงานและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของหน่วยงานเทคนิคการแพทย์ โดย M-CAB จะนำเอาผลที่ได้จากการอบรมนี้ไปจัดทำแผนแม่บท LOGIC MODEL และ ACTION PLAN ต่อไป