1.โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome หรือ AIDS)
กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ ซึ่งพิจารณาจากลักษณะผู้ป่วยพบดังนี้
1. กลุ่มรักร่วมเพศชาย
2. ผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือด
3. ผู้ป่วยโรคเลือดชนิด Hemophilia
4. ผู้รับการถ่ายเลือด
5. ภรรยาและบุตรผู้ป่วยหรือผู้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
การควบคุมและป้องกันโรค โรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยโรคเอดส์ประมาณร้อยละ 50
จะตายภายใน 1 ปี ร้อยละ 75 จะตายภายใน 3 ปี และเกือบทั้งหมดตายภายใน 5 ปี ดังนั้น การควบคุมและป้อง
กันโรค จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งสามารถควบคุมและป้องกันโรคเอดส์ ได้ดังนี้
(สมชาย สุพันธุ์วณิช และกาญจนา สุพันธุ์วณิช. 2532 : 13-15)
1. การควบคุมและป้องกันก่อนการเกิดโรค โดย
1.1 ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์แก่ประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง
1.2 หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและการฉีดสิ่งเสพติดที่ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
1.3 ให้เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข หลีกเลี่ยงการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาอันเดียวกัน
ซ้ำ ๆ กับบุคคลอื่น โดยมิได้ฆ่าเชื้อโรคอย่างดีเสียก่อน
1.4 งดรับเลือด อวัยวะสำหรับปลูกและสิ่งใช้ผสมเทียมจากบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคเอดส์ เช่น ผู้ติดยา-
เสพติด รักร่วมเพศ หญิงและชายบริการ ผู้ต้องขัง
1.5 ตรวจเลือด ผลิตภัณฑ์เลือด อวัยวะสำหรับปลูก และสิ่งที่ใช้ผสมเทียมก่อนให้แก่บุคคลอื่น
1.6 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมรักร่วมเพศ สำส่อนทางเพศ และมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อ
โรคเอดส์
1.7 ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่ไม่แน่ใจในความปลอดภัย
1.8 หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน หวี ที่ตัดเล็บ ไม้แคะหู
1.9 หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำลาย น้ำคัดหลั่งของบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
1.10 ตรวจเลือดหาเชื้อโรคเอดส์ก่อนทำการสมรส
1.11 สตรีที่มีเชื้อโรคเอดส์ เมื่อตั้งครรภ์ก็จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และทารกที่เกิดมาประมาณ
ร้อยละ 50 จะติดโรค ดังนั้นจึงป้องกันด้วยวิธีคุมกำเนิด
1.12 ผู้ที่มีเชื้อโรคเอดส์ต้องระมัดระวังป้องกันตนเองที่จะมิให้เชื้อโรคแพร่ไปยังผู้อื่นได้
2. การควบคุมและป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้น โดย
2.1 การวินิจฉัยโรคจะต้องรวดเร็ว และถูกต้อง
2.2 เมื่อพบผู้ป่วยต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบภายใน 24 ชั่วโมง เพราะโรคเอดส์เป็น
โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (แต่จะทำเป็นความลับ) โดย
(ก) ในกรุงเทพมหานคร ให้รายงานไปยังสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครหรือกรมควบคุมโรคติดต่อ
กระทรวงสาธารณสุข
(ข) ในส่วนภูมิภาค ให้รายงานต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2.3 การแยกผู้ป่วยไว้รักษาในสถานพยาบาลที่จัดไว้เป็นพิเศษ (สถานที่สำหรับให้บริการตรวจรักษา
ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ ได้แก่ โรงพยาบาลบำราศนราดูร)หรือจัดแยกไว้ในห้องแยกเฉพาะ
2.4 การทำลายเชื้อโรคโดยทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยความร้อนต่อเข็มและหลอดฉีดยาให้ดี กำจัด
กระดาษ สำลีที่เปรอะเปื้อนเสมหะ น้ำลาย เลือด ด้วยการเผาและทำลายเชื้อโรคที่อาจติดมากับภาชนะ เครื่องใช้ และเสื้อผ้าของผู้ป่วยด้วยการต้ม ล้าง ซักให้สะอาด และควรฆ่าเชื้อด้วยน้ำยา 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรด์
(0.5% Sodium Hypochloride)
2.5 การคุมไว้สังเกตในผู้ที่ตรวจพบว่ามีเชื้อโรคเอดส์จะต้องได้รับการติดตามดูอาการและได้รับการ
ช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อให้ดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดี และไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
2.6 การเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค พบว่ายังไม่มีวัคซีน (แต่กำลังศึกษากันอยู่)
2.7 การสืบสวนโรค สำรวจหาผู้มีเชื้อโรคเอดส์ในกลุ่มผู้เสี่ยงต่อโรค และผู้สงสัยแล้วดำเนินการเฝ้าระวัง
โรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค
|